หากสถานที่อยู่ ที่เลี้ยงดีแล้ว(เย็น โปร่ง ครึ้ม) สิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ เบดดิ้ง
แม้นว่าการเลี้ยงไส้เดือนจะได้ตัวไปพร้อมๆ กับมูล แต่จากประสบการณ์ผม *เบดดิ้ง แบ่งตามความต้องการได้สองแบบ คือ
1. ต้องการใช้ขุนตัว คือ ต้องการขยายจำนวน
2. ต้องการผลิตมูลไส้เดือนอย่างเดียว (ได้ตัวด้วยแต่ไม่คำนึงมากนักคือมีตัวเพียงพอแล้ว) หรือผลิตมูลไส้เดือนคุณภาพสูง
ผู้เลี้ยงไส้เดือน ทำเบดดิ้งแบบไหนกันบ้าง ตั้งแต่ผมเลี้ยงไส้เดือนมาเก้าปี (2557)
พบว่ามีการทำเบดดิ้งอยู่ประมาณนี้ครับ
1. มูลวัวอย่างเดียว แช่น้ำ ไม่ตีป่น
ข้อดี
หาง่ายทำง่าย ได้ปริมาณเยอะ เหมาะกับการทำเพื่อจำหน่ายในราคาไม่แพง สำหรับผู้ใช่ใส่ในแปลงใหญ่ ต้องการใช้ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในมูลไส้เดือนไปปรับสภาพดิน หรือนำไปผสมดิน(ที่ปรับปรุงธาตุอาหารแล้ว) เพื่อจำหน่ายเป็นดินผสมมูลไส้เดือน
ข้อเสีย
มูลไส้เดือนก็จะมีธาตุอาหารหลัก ประมาณ ไกล้เคียงหรือต่ำกว่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์เล็กน้อย คือ N = 1, p= 0.5, K= 0.5
และหากไม่ตีป่น ไส้เดือนจะกินช้า(ควรเลี้ยงที่ระยะ 45 วัน) แต่หากตีป่น เบดดิ้งจะแน่นไส้เดือนจะเคลื่อนที่ยาก
2. มูลวัวผสมกับวัสดุอื่นๆ โดยใช้มูลวัว 60% และวัสดุอื่นๆ 40 %
ซึ่งเป็นเบดดิ้งที่ดีกว่า (อ้างอิงจากตำราเลี้ยงไส้เดือนหลายเล่ม)
2.1 ผสมกับขุยมะพร้าว ดีที่สุด (มีผู้เข้าใจผิดโฆษณาว่า มูลไส้เดือนแท้ ไม่ผสมขุยมะพร้าว ซึ่งหากถามผู้รู้ ขุยมะพร้าวเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับจุลินทรีย์ รักษาความชื้น และมีราคาต้องซื้อเพิ่มด้วย วัสดุเพาะเกือบทุกชนิดใช้ขุยมะพร้าวเป็นส่วนผสม)
2.2 ผสมใบไม้แห้ง เช่นใบหูกระจงหรือใบจามจุรี
2.3 ผสมฟางข้าว หรือผสมดิน
3. มูลสัตว์อื่นๆ ผสมวัสดุอื่นๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม สงวนไว้สำหรับสมาชิก คลิกที่นี่ เพื่อสมัครสมาชิิก(ฟรี)