มูลไส้เดือนแท้
มูลไส้เดือนแท้ คือมูลไส้เดือนที่ไม่ได้นำมาผสมกับสาร หรือวัสดุอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการณ์ใดก็ตาม เช่นต้องการเพิ่มค่า pH หรือต้องการเพิ่มค่าธาตุอาหาร บางรายอาจไม่มั่นใจในคุณภาพของมูลไส้เดือนของตนเอง (แม้นมูลไส้เดือนจะมีค่าธาตุอาหาร ไม่มากนัก แต่คุณสมบัติอื่นๆ ของมูลไส้เดือนนั้น ทรงคุณค่ามากเพียงพอ)
มูลไส้เดือนแท้ ต้องมีค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ คือเกิน 80% คือไส้เดือน กินเบดดิ้งหมด ไม่เหลือเศษมูลสัตว์ หรือวัสดุอื่นเจือปนตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ที่นำมาเปรียบ เทียบ เป็นเกณฑ์ ซึ่งจะทำให้มูลไส้เดือนไม่ร้อนขึ้นมากขึ้นมากอีกครั้ง แม้นเพิ่มความชื้น หรือนำไปบรรจุในถุงที่มีสภาวะเหมาะแก่การหมัก ก็ตาม
ในความต่อเนื่องกัน มูลไส้เดือนแท้ ก็จะไม่เกิดกลิ่น(แกส) และเกิดเชื้อราใดๆ ขึ้นมา แม้นเก็บไว้นานในถุงบรรจุ แต่หากกองไว้ โดยไม่ได้บรรจุ หรือเปิดถุงไว้ และเกิดความร้อนชื้น อาจมีเชื้อเห็ดเกิดขึ้น หรือมีเมล็ดงอกขึ้นได้ (หากการร่อนแยก ไม่ดี)
มูลไส้เดือนแม้จะไม่ 100 % ก็มีคุณค่ามากเพียงพอ และไม่อันตรายในการใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน ในการเกษตร เพราะสิ่งที่ย่อยสลายไม่หมด ก็คือมูลสัตว์หรือเศษวัสดุอินทรีย์ ซึ่งจะสามารถย่อยสลายต่อไปได้โดยจุลินทรีย์ ในมูลไส้เดือนเอง และในธรรมชาติ แต่หากนำไปใช้ในการปรับสภาพน้ำ หรือในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ในปริมาณมาก อาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากจะเกิดการย่อยสลาย ในระบบ หรือเกิดแพลงก์ตอนมากเกิน ทำให้น้ำ ขาดออกซิเจน
การนำมูลไส้เดือน ไปใส่ในบ่อสัตว์น้ำ เพื่อให้เกิดแพลงก์ตอน ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี เป็นประโยชน์ ต่อสัตว์น้ำ
ย้ำความจริงที่ควรพิจารณาและทำความเข้าใจ (โดย อ.วุฒิ)
- ไม่มีมูลไส้เดือน 100 % คือถึงอย่างไรก็จะมีอินทรีย์วัตถุที่ไส้เดือนกินไม่หมดผสมมาบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่สามารถวัดค่าได้จากค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ (ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์คือต้องมีค่านี้ มากกว่า 80 %) คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- มูลไส้เดือนแท้ หมายถึงสารอินทรีย์(อาหารไส้เดือน) ได้ผ่านการกินหรือผ่านลำตัวของไส้เดือน ซึ่งในกระบวนการเลี้ยงไส้เดือนหากอาหารไม่ชื้นไม่เปื่อย หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไส้เดือนกินไม่ได้ หรือไม่ค่อยกินอาหาร(เช่นในฤดูร้อน) สิ่งที่ได้มาก็อาจเป็นจุลินทรีย์ย่อยนอกลำตัวไส้เดือน ซึ่งจะไม่ได้โครงสร้างเหมือนผ่านลำตัวไส้เดือน
ซึ่งมูลไส้เดือนแท้จะไม่ผสมกับปุ๋ย กับสารเคมีหรือวัสดุอื่นใดๆ และจะมีคุณสมบัติที่พอสังเกตุได้ ดังนี้
1. ไม่มีกลิ่น (เมื่อเปิดบรรจุหีบห่อ ออกมาครั้งแรกสามารถทดสอบได้)
2. ไม่ร้อนขึ้นมาอีก แม้ว่าจะหนาแค่ไหน หรือกระสอบซ้อนทับกันกี่ชั้นก็ตาม
3. เมื่อทดสอบการละลายน้ำ มูลไส้เดือนแท้จะไม่ลอยน้ำ และค่อยๆ ละลาย
มูลไส้เดือนคุณภาพสูง
คือมูลไส้เดือนแท้ ที่มีค่าธาตุอาหารสูง การผลิตให้ได้มูลไส้เดือนคุณภาพสูง มีหลักการณ์ที่สำคัญคือ
- สภาพแวดล้อมในโรงเรือน หรือที่เลี้ยง
--- อุณหภูมิ 21-29 องศาเซลเซียส หรือไม่เกิน 33-34 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อน เนื่องจากหากอุณหภูมิสูงไส้เดือนจะไม่ค่อยกินอาหาร หรือกินอาหารไม่หมด ในรอบการผลิต ทำให้มูลที่ร่อนจะไม่ใช่มูลไส้เดือนแท้ คือไม่ผ่านลำตัวไส้เดือน ที่ได้เป็นปุ๋ยหมักจึงเกิดจากจุลินทรีย์ย่อยอาหาร(สารอินทรีย์) จะไม่มีโครงสร้างเหมือนผ่านลำตัวไส้เดือน
--- ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ซึ่งจะทำให้หน้าเบดดิ้ง ชื้นเพียงพอที่จะให้ไส้เดือนกินได้หมด นอกจากนั้นจะมีจุลินทรีย์จำนวนมากและมีฮอร์โมนพืชมากเช่นกัน (จะค่อยๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ หากทิ้งมูลไส้เดือนไว้นานเกิน3-6 เดือน โดยที่ไม่มีวิธีเก็บรักษาที่ถูกต้อง
--- ครึ้ม(ไม่โดนแสงแดด) และ อากาศถ่ายเท จะทำให้ไส้เดือนกินอาหารอยู่เกือบตลอดเวลา สุขภาพดี - อาหารหลักและอาหารเสริม
--- อาหารหลักต้องมีโปรตีนไม่สูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งจะทำให้ค่า N สูงด้วย
--- มีการให้เศษผัก เพื่อให้ค่า C/N ratio ต่ำ(ยิ่งต่ำยิ่งดี) ซึ่งจะทำให้ไส้เดือนกินอาหารได้ดีรวมทั้งมูลไส้เดือนจะมีค่า EC ต่ำ พืชดูดซึมได้ง่าย ซึ่งจะสำคัญกับการปลูกผัก สลัดและผักไฮโดรโปนิกส์ มาก
--- มีการให้อาหารเสริมที่ทำให้ค่าธาตุอาหารสูง เช่นในปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ราคาสูง จะเสริมอาหารเพื่อทำให้ค่า N สูง 2-5 ค่า P สูง 4-5 และค่า K สูง 1.5-3 ซึ่งสูงกว่ามูลไส้เดือนที่ไม่ได้พัฒนาปรับปรุง สี่ถึงห้าเท่า
- วิธีการเลี้ยงการร่อนแยกและการเก็บ รวมทั้งการขนส่งมูลไส้เดือน
และเมื่อส่งไปตรวจสอบค่า ที่กรมวิชาการเกษตร หรือ กรมพัฒนาที่ดิน จะต้องผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ เป็นขั้นต่ำ ซึ่งมูลไส้เดือนที่เลี้ยงกันโดยใช้มูลสัตว์หรือมูลวัว แช่น้ำอย่างเดียว จะมีค่าธาตุอาหารต่ำกว่าค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์เล็กน้อย แต่มูลสัตว์บางประเภทอาจมีค่าธาตุอาหารหลักไกล้เคียงกับมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์
*อย่างไรก็ตาม มูลไส้เดือนทั่วไป ก็ดีกว่าปุ๋ยหมักอื่นสามสี่เท่า ในเรื่องของการช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ทั้งเพิ่มความร่วนซุย ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง และการเพิ่มความชื้นให้กับดิน
ตัวอย่างการส่งตรวจค่ามูลไส้เดือนบางส่วน หมายเหตุ: ทางกรมพัฒนาที่ดินได้สงวนการนำไปเผยแพร่อวดอ้างสรรพคุณ แต่ความจริงก็คือความจริง
จากภาพเป็นตัวอย่างมูลไส้เดือนที่ได้ปรับปรุงอาหารให้เป็นสูตรที่ใช้กับต้นไม้ทั่วไป ทุกช่วงของการเติบโต
ที่มา: หนังสือรากดิน (คลิก)